เมนู

ปัจจนียนัย


1. นเหตุปัจจัย


[485] 1. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ อวิชชาสัญโญชน์ อาศัยวิจิกิจฉาสัญโญชน์.
2. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม อาศัยธรรมที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม แต่ไม่ใช่
สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา.
3. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม และธรรมที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม แต่ไม่ใช่
สัญโญชนธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ อวิชชาสัญโญชน์ อาศัยวิจิกิจฉาสัญโญชน์ และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย.

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ


[486] ในนเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
ในนปุเรชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี 9 วาระ ในนกัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในนวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ.
การนับจำนวนวาระทั้งสองนัย นอกนี้ก็ดี สหชาตวาระก็ดี พึงกระทำ
อย่างที่กล่าวมาแล้ว.
ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี
เหมือนกับปฏิจจวาระ.

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[487] 1. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และ
สัญโญชนสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ กามราคสัญโญชน์ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐิสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย
2. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม
แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรมและสัญโญชนสัมปยุตตธรรม
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
3. ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และสัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งสัญโญชนธรรม และ
สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และธรรมที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม
แต่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ กามราคสัญโญชน์ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐิสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์
และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.